2,500 คนใน 1 ร่าง รวมเป็นหนึ่งเพื่อปกป้องตัวเอง !?
ทำความรู้จักกับ ‘ โรคหลายบุคลิก’
โรคหลายบุคลิก เกิดจาก เป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่น่าสนใจและเศร้าในเวลาเดียวกัน เมื่อหญิงสาวคนหนึ่งได้สร้างอัตลักษณ์กว่า 2,500 อัตลักษณ์เพื่อปกป้องตัวเองจากพ่อแท้ๆที่ทารุณกรรมทางเพศและทำร้ายเธอมากว่า 7 ปี ตั้งแต่เธออายุเพียง 4 ขวบเท่านั้น โดยคดีนี้เป็นคดีแรกที่ศาลยอมรับและให้แต่ละอัตลักษณ์ของเธอขึ้นพูดและเป็นพยานในชั้นศาลอีกด้วย !
วันนี้ Agnos จะพามาทำความรู้จักกับ โรคหลายบุคลิกและเรื่องราวสุดแปลกนี้กัน
อันดับแรกเรามาทำความรู้จักกับโรคหลายบุคลิกกันก่อน !
หลายๆคนอาจเคยได้ยินเรื่อง ‘โรคหลายบุคลิก’ โรคหลายบุคลิก เกิดจาก กันมาบ้าง จากภาพยนตร์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหนังดังระดับฮอลลีวูดอย่างเรื่อง Split (2016) หรือหนังเกาหลีที่ทั้งซึ้งทั้งตลก อย่าง Kill me,Heal me (2015) แต่ในโลกแห่งความเป็นจริงล่ะ ?
โรคนี้มันอันตรายเหมือนในหนัง Split และจบแบบแฮปปี้เอนดิ้งเหมือนในหนัง Kill me,Heal me หรือเปล่า ?
โรคหลายบุคลิกคืออะไร ?
โรคหลายบุคลิก (Dissociative Identity Disorder – DID) คือ โรคทางจิตเวชแบบหนึ่ง ที่ผู้ป่วยจะมีบุคลิกเพิ่มขึ้นมามากกว่าหนึ่งคนขึ้นไป โดยตัวตนกับบุคลิกของเราจะสลับกันปรากฏตัวนั่นเอง
ความทรงจำ การกระทำ การรับรู้ ความคิด และความรู้สึกจะแยกกันโดยสิ้นเชิง ทำให้ผู้ป่วยอาจจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ เมื่อบุคลิกอีกหนึ่งบุคลิกโผล่มา แต่ในบางกรณีอาจมีความทรงจำร่วมกันได้
โรคหลายบุคลิกเกิดจากอะไร ?
ส่วนมากสาเหตุของโรคนี้ คือ การได้รับการกระทบกระเทือนทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงมาเป็นเวลานาน เช่น การโดนทำร้ายร่างกาย ถูกล่วงละเมิดทางเพศในวัยเด็ก หรือสูญเสียคนที่รักไป
แพทย์เชื่อว่าเมื่อเราต้องเจอกับเหตุการณ์ที่รุนแรงร่างกายและจิตใจของเราอาจรับมือไม่ไหว จึงสร้างอีกหนึ่งบุคลิกหรือตัวตนขึ้นมาเพื่อให้ตัวตนเดิมของเราไม่ต้องรับรู้กับเหตุการณ์นั้นๆ ถือได้ว่าเป็นกลไกป้องกันตัวเองของสมองเรานั่นเอง
อาการของโรคหลายบุคลิก
อาการและความรุนแรงของโรคหลายบุคลิกอาจแตกต่างออกไปในแต่ละคน ในบางรายตัวตนที่เพิ่มเข้ามาอาจไม่ได้อันตรายมากนัก แต่ในบางรายตัวตนที่เพิ่มเข้ามาอาจมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวและอันตรายต่อตัวเองและผู้อื่นได้
โดยอาการที่พบมากในโรคหลายบุคลิกได้แก่ :
- สูญเสียความทรงจำ
- มีอาการหลอน เช่น เห็นภาพหลอน หรือได้ยินเสียงจากภายในที่คอยควบคุมตัวเอง
- รู้สึกกังวลตลอดเวลา
- รู้สึกไม่มีอำนาจในการควบคุมตัวเอง
- เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นต่อความคิดและร่างกาย เช่น อยู่ดีๆก็มีแรงเยอะกว่าปกติ หรือคิดว่าตัวเองกลายเป็นเด็ก
- ภาวะซึมเศร้า
- อาการแพนิค
- พฤติกรรมการกินที่เปลี่ยนไป เช่นกินเยอะหรือน้อยกว่าปกติ
เมื่ออัตลักษณ์เปลี่ยนไป ร่างกายเปลี่ยนตามมั้ย ?
เมื่ออัตลักษณ์ของผู้ป่วยเปลี่ยนไป ความสามารถและความคิดของผู้ป่วยอาจเปลี่ยนไปด้วย เช่น ตัวตนจริงๆของเราถนัดขวา แต่เมื่ออัตลักษณ์นั้นๆปรากฏตัวออกมา เรากลับสามารถเขียนมือซ้ายได้อย่างถนัด หรือจากที่เราเคยสายตาสั้น แต่พออัตลักษณ์ปรากฏตัวออกมา เรากลับมองเห็นได้ชัดเจนโดยไม่ต้องพึ่งแว่นสายตา เป็นต้น
ผู้ป่วยสามารถมีได้กี่อัตลักษณ์ ?
ยังไม่มีตัวเลขที่แน่ชัด แต่อาจมีได้มากกว่าหนึ่งจนไปถึงหลักพันเลยทีเดียว
แล้วใครกันล่ะ ที่ควบคุมให้อัตลักษณ์คนไหนปรากฏตัวออกมา ?
นักวิจัยเชื่อว่าในอัตลักษณ์ทั้งหมด จะมีอัตลักษณ์ผู้ที่ทำหน้าที่ควบคุมการปรากฏตัวของอัตลักษณ์อื่นๆ โดยหน้าที่นี้จะมีชื่อว่า ‘Gatekeeper’ ยังไม่มีชื่อเรียกในภาษาไทย แต่สามารถแปลตรงตัวได้ว่า ผู้เฝ้าหรือรักษาประตู
ซึ่ง Gatekeeper จะมีหน้าที่เป็นผู้ตัดสินใจว่าในสถานการณ์ไหนใครควรออกปรากฏตัว โดยการตัดสินใจส่วนมากจะเพื่อปกป้องทั้งร่างกายและจิตใจของตัวตนเราจริงๆ
เราสามารถสูญเสียตัวตนจริงๆได้มั้ย ?
ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่าผู้ป่วยสามารถสูญเสียตัวตนจริงๆได้หรือไม่ แต่นักวิจัยเผยว่า อาจมีการเข้าใจผิดของอัตลักษณ์ว่าตัวเองนั้นคือเจ้าของร่างกายนี้จริงๆ
อัตลักษณ์สามารถเป็นอย่างอื่นที่ไม่ใช่คนได้มั้ย ?
ถึงแม้จะเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก แต่อัตลักษณ์ของผู้ป่วยสามารถเป็นสิ่งอื่นได้นอกเหนือจากมนุษย์ เช่น สัตว์ ภูติผี ปีศาจ หรือแม้แต่สิ่งมีชีวิตในจิตนาการที่ผู้ป่วยคิดขึ้นมา
โรคนี้สามารถรักษาได้มั้ย ?
โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่จะอาการจะดีขึ้นได้และควบคุมอัตลักษณ์ไม่ให้ออกมา หรือทำให้หายไปได้ จากการรักษาแบบการทำจิตบำบัด การบำบัดความคิดและพฤติกรรม รวมถึงการใช้ยา
เรื่องราวของหญิงสาวที่มี 2,500 อัตลักษณ์ใน 1 ร่าง
เจนี เฮย์นส์ (Jenni Haynes) ตัดสินใจฟ้องศาลเกี่ยวกับพ่อของเธอในปี 2009 ข้อหาทารุณกรรมทางเพศและทำร้ายร่างกายเมื่อตอนที่เธออายุได้เพียง 4 ขวบ จนถึง 11 ขวบ จนทำให้เธอสร้างตัวตนกว่า 2,500 ตัวตนขึ้นมาจากอาการป่วยโรคหลายบุคลิก
โดยเจนีในวัย 4 ขวบ ถูกพ่อแท้ๆของเธอข่มขู่และล้างสมองตลอดเวลาว่าเขานั้นสามารถอ่านใจของเธอได้ ถ้าเจนีกล้าไปบอกคนอื่นเรื่องการทารุณกรรม เขาจะฆ่าแม่ของเจนีและคนรอบข้างตัวเธอ ทำให้เจนีในวัย 4 ขวบไม่กล้าที่จะเอ่ยปากขอความช่วยเหลือใดๆ
นอกจากนี้พ่อของเจนียังบังคับให้เจนีกลับบ้านทันทีเมื่อเลิกเรียน จึงทำให้เจนีนั้นไม่ค่อยมีเพื่อน บวกกับความคิดที่ว่าหากเธอไปเป็นเพื่อนกับใคร เพื่อนคนนั้นอาจจะโชคไม่ดีโดนพ่อของเธอทำร้ายไปด้วย
หลังจากที่พ่อกับแม่หย่ากัน เจนีได้มีโอกาสย้ายไปอยู่กับครอบครัวของฝั่งแม่ ทำให้มีโอกาสได้ไปรักษาร่างกายและบาดแผล
บาดแผลของเจนีนั้นรุนแรงและสาหัสมาก เธอมีบาดแผลตามตัว ทวารหนัก ลำไส้ กรามร้าวและหัก รวมถึงมีปัญหาในการมองเห็นอีกด้วย เธอยังต้องเข้ารับการผ่าตัดทำทวารเทียม เนื่องจากการทารุณกรรมทางเพศอันโหดร้ายในอดีต
จนกระทั้งในปี 2009 เจนีได้รวบรวมความกล้าและหลักฐานมากมายเพื่อยื่นฟ้องพ่อของเธอในข้อหาทำร้ายร่างกายและทารุณกรรมทางเพศ โดยเป็นเรื่องที่แปลกใหม่มาก เนื่องจากศาลอนุมัติให้อัตลักษณ์ 6 คนที่อยู่ภายในตัวเธอออกมาให้ปากคำและเป็นพยานได้
สุดท้ายพ่อของเขาถูกฟ้องกว่า 300 ข้อหาและสั่งจำคุกกว่า 45 ปี ซึ่งสามารถพูดได้ว่าพ่อของเธอจะต้องใช้ชีวิตที่เหลือในคุก เนื่องจากในตอนนั้นเขามีอายุ 74 ปีแล้ว
อัตลักษณ์ของเจนี
ถึงแม้เธอจะมีมากกว่า 2,500 อัตลักษณ์ แต่บางอัตลักษณ์นั้นปรากฏตัวเป็นเวลาเพียงสั้นๆและหายสาบสูญไป แต่จะมีอยู่ เพียงไม่กี่อัตลักษณ์ที่ปรากฏตัวบ่อยและมีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือเธอ
- ซิมโฟนี (Symphony) อัตลักษณ์แรกที่ปรากฏตัวขึ้น เป็นเด็กสาวอายุ 4 ขวบที่มีเสียงแหลมและชอบพูดเร็ว
เป็นอัตลักษณ์ที่ทำหน้าที่ออกไปรับการทารุณกรรมจากพ่อแทนเจนี และอาจเป็น Gatekeeper ที่คอยสลับเปลี่ยนอัตลักษณ์อื่นๆอีกด้วย
แพทย์เชื่อว่าเนื่องจากเธออาจถูกทำร้ายครั้งแรกในวัย 4 ขวบ ทำให้ต่อมาเธอสร้างบุคลิกที่เป็นเด็กสาวอายุ 4 ขวบขึ้นมา
เธอได้ขึ้นศาลเพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่เลวร้ายในอดีตของเธอด้วย
- มัสเซิล (Muscles) เป็นวัยรุ่นชายรูปร่างดี สูงและชอบใส่เสื้อแขนกุดโชว์กล้ามแขน เขาเป็นคนที่ใจเย็นและจะปรากฏตัวขึ้นเมื่ออัตลักษณ์อื่นๆถูกทำร้ายรุนแรงกว่าปกติ หรือเมื่อเจนีและซิมโฟนีรับไม่ไหว
เขาได้ขึ้นให้การเกี่ยวกับรายละเอียดบาดแผลตามร่างกายและการทารุณกรรม
- โวเคโน่ (Volcano) ชายหนุ่มที่มีรูปร่างสูงและแข็งแรง ชอบสวมชุดหนังสีดำทั้งตัวและย้อมผมสีบลอน
- จูดาส (Judas) ชายหนุ่มผมแดงที่ใส่การเกงนักเรียนสีเทาและเสื้อแขนยาวสีเขียว จูดาสได้ขึ้นให้การกับศาลและบอกเล่าเรื่องราวในอดีตของเจนีอีกด้วย
- ลินดา (Linda / Maggot) หญิงสาวรูปร่างผอมสูงเจ้าเสน่ห์ ที่ทั้งสวยและฉลาดในชุดกระโปรงสีชมพูและมัดผมเป็นมวย จะปรากฏตัวออกมาเมื่อเจนีมีปัญหาที่โรงเรียน
- ริคกี้ (Ricky) เด็กชายอายุ 8 ขวบที่ใส่สูทสีเทา ผมสีแดง
- ริค (Rick) ชายหนุ่มที่ใส่แว่นเหมือนกับพ่อของเจนีและมีใบหน้าลักษณะเหมือนคนแคระ
หากมีป่วยกายแน่นอนว่าต้องมีป่วยใจ และอาการป้วยทางจิตใจไม่ใช่เรื่องน่าอาย การขอความช่วยเหลือก็เช่นกัน
Agnos ขอเป็นอีกหนึ่งแรงสนับสนุนและกำลังใจให้ผู้ที่มีภาวะหรืออาการทางจิตใจ ให้ก้าวข้ามผ่านไปได้ !
หมั่นสังเกตอาการของตัวเองและคนใกล้ตัวเสมอ เพราะอาการเล็กๆน้อยๆ อาจทำไปสู่ภาวะและโรคอื่นๆได้
หากใครมีอาการที่กังวล สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันเพื่อเช็กอาการเบื้องต้นได้ ฟรี 24 ชม !
อ้างอิง : https://did-research.org/did/alters/cores
https://did-research.org/did/alters/functions
https://www.pobpad.com/โรคหลายบุคลิก-dissociative-identity-disorder
https://www.bbc.com/thai/features-49627363
https://www.dailymail.co.uk/femail/article-10832627/The-woman-2-500-personalities-British-rape-victim-subjected-sexual-abuse-father.html
https://www.dailymail.co.uk/news/article-11256875/Rape-survivor-Jeni-Haynes-announces-relationship-three-years-Richard-John-Haynes-sentencing.html
https://www.bbc.com/thai/features-49627363