ทำบุญวันสำคัญด้วยปิ่นโตถวายพระ

ปิ่นโตถวายพระ

ทำบุญวันสำคัญด้วยปิ่นโตถวายพระ

 

ปิ่นโตถวายพระ เริ่มต้นปี 2567 ด้วยการไปวัด ทำบุญ ถวายปิ่นโตพระ เพื่อเป็นสิริมงคล ณ ปัจจุบันการทำบุญมีให้เลือกทำได้อย่างง่ายๆ ไม่ต้องตื่นเช้ามาเตรียมอาหาร ของใช้เองแล้ว ใครไม่มีเวลาก็สามารถทำบุญถวายอาหารพระได้ เพียงแค่เปิดเว็บ armabox.net เลือกอาหารที่ต้องการ และแอดไลน์สั่งได้เลย สะดวกใช่มั้ยหละ?? บอกแล้วว่าทำบุญ ไม่ต้องรอให้ว่าง สมัยนี้สะดวกมาก เพียงแค่กดสั่ง อาม่าบ๊อก ก็จัดเซตปิ่นโตถวายพระให้อย่างเรียบร้อย จะบอกว่าจัดส่งให้ถึงหน้าวัดเลย วันนี้ทางอาม่าบ๊อก มีประวัติของพุทธศาสนามาเล่าให้ฟัง และมาบอกวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ปี 2567 ว่ามีวันสำคัญอะไรบ้าง เราจะได้วางแผนการทำบุญกันแต่เนิ่นๆ

 

วันประชุมถือศีลฟังธรรมในพุทธศาสนา ที่เกิดขึ้นสืบเนื่องมาจากในสมัยพุทธกาลพระเจ้าพิมพิสารพระราชาแห่งแคว้นมคธ ได้ทราบเรื่องราวของนักบวชนอกศาสนาประชุมแสดงคำสอนตามความเชื่อทุกวัน 8 ค่ำ 14 ค่ำ และ 15 ค่ำ เพื่อให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาสืบเนื่องไปจึงทูลขอพุทธานุญาตจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตตามนั้น พุทธศาสนิกชน จึงถือเอาวันนี้เป็นวันสำคัญ เป็นวันสิริมงคลที่ควรจะเข้าวัดไปทำบุญ ฟังธรรม หรือถือศีล งดเว้นจากการทำบาปทั้งปวง

 

วันขึ้นปีใหม่ ตรงกับวันที่ 1 มกราคม 2567 

ทำบุญตักบาตรขึ้นปีใหม่ อวยพรอวยชัยตั้งแต่ต้นปี อีกหนึ่งประเพณีโบราณที่ต่อจากสวดมนต์ข้ามปีแล้ว ก็ต้องมีการทำบุญ ตักบาตร ปิ่นโตถวายพระ ในช่วงเช้าของวันที่ 1 มกราคมของทุกปีด้วยเช่นกัน เพื่อเป็นการทำบุญต่ออายุให้ตนเองและครอบครัวมีอายุยืนยาว และช่วยในเรื่องของความมั่งคั่ง มั่นคงในการเงินตลอดปี รวมทั้งเป็นการอุทิศส่วนกุศลแก่คนในครอบครัวผู้ล่วงลับไปแล้วอีกด้วย โดยเป็นการนำข้าวสารอาหารแห้ง หรือเป็นอาหารสดก็ได้ นำไปถวายพระสงฆ์ที่วัดใกล้บ้าน หรือใครที่ไม่สะดวกไปวัด แต่มีพระสงฆ์ออกมาเดินบิณฑบาตก็สามารถทำบุญตักบาตรได้เช่นกัน 

 

วันมาฆบูชา ตรงกับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567 

วันมาฆบูชา ถือเป็นวันพระใหญ่ที่ผู้คนนิยมเข้าวัดไปตักบาตร ทำบุญ หรือเวียนเทียนกันในช่วงหัวค่ำ เพื่อระลึกถึงพระคุณของพระรัตนตรัย ได้แก่ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ในวันพระเล็ก ใน 7-8 วันจะมีครั้งหนึ่ง ส่วนวันพระใหญ่จะมีทุกรายปักษ์ คือ 14-15 วันครั้ง เป็นวันเพ็ญเต็มดวง หรือว่าเป็นวันที่พระจันทร์มืดสนิทเนี่ย (แรม 14-15 ค่ำ หรือ ขึ้น 15 ค่ำ) และด้วยวันพระใหญ่ เป็นวันที่พระจะลงโบสถ์ ลงปาติโมกข์กัน ฟังพระองค์หนึ่งเป็นผู้่สวดพระปาติโมกข์ ทบทวนวินัยสงฆ์ทั้ง 227 ข้อ ถือเป็นวันบุญพิเศษ ส่วนญาติโยมแต่โบราณจะเข้าวัดเข้าวา ตั้งใจถือศีล ฟังธรรมเป็นพิเศษ เป็นวันที่มาชำระตัวเองให้บริสุทธิ์ด้วยศีล ด้วยทาน การฟังธรรม ปฏิบัติธรรมกัน ซึ่งพระสงฆ์ก็มาชำระวินัยตัวเองให้บริสุทธิ์ด้วย

 

วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันที่ 20 กรกฎาคม 2567 

วันอาสาฬหบูชา ตรงกับ วันเพ็ญ เดือน ๘ ก่อนปุริมพรรษา (ปุริมพรรษาเริ่ม ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ในปีที่ไม่มีอธิกมาสเป็นต้นไป ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑) ๑ วัน เป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ เทศน์กัณฑ์แรก ชื่อว่าธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โปรดพระปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมือง พาราณสี ในปีแรกที่ทรงตรัสรู้และเพราะผลของพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้เป็นเหตุให้ท่าน พระโกณฑัญญะในจำนวนพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ได้ธรรมจักษุ (โสดาปัตติมรรค หรือ โสดาปัตติมรรคญาณ คือญาณที่ทำให้สำเร็จเป็นโสดาบัน) ดวงตาเห็นธรรม คือ ปัญญา รู้เห็นความจริงว่า สิ่งใดก็ตามมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีความดับไป เป็นธรรมดา แล้วขอบรรพชาอุปสมบทต่อพระองค์ เป็นพระอริยสงฆ์องค์แรกของ พระพุทธศาสนา และทำให้พระรัตนตรัยครบองค์ ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ 

 

วันเข้าพรรษา ตรงกับวันที่ 21 กรกฎาคม 2567 

วันเข้าพรรษา จัดเป็นพิธีกรรมของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา โดยท่านต้องประพฤติปฏิบัติตามพระพุทธบัญญัติ (ข้อที่ตั้งขึ้นให้รู้ทั่วกันการกำหนดเรียก การวางเป็นกฎข้อบังคับ) ที่ทรงวางเป็นระเบียบข้อบังคับให้พระสงฆ์ต้องเขาจำพรรษาในสถานที่ที่ทรงอนุญาตให้เข้าอาศัยอยู่ได้ และพิธีกรรมวันเข้าพรรษานี้ พุทธศาสนิกชนได้มีส่วนร่วมประกอบคุณงามความดีตามหน้าที่ของชาวพุทธ เพื่อช่วยเหลือพระสงฆ์อีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งมีประวัติที่น่าสนใจวันเข้าพรรษา เริ่มตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ จนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ เรียกว่า ครบไตรมาส คือ ๓ เดือนนี่เป็นการเข้า “พรรษาต้น”ส่วนการเข้า”พรรษาหลัง”เริ่มตั้งแต่วันแรมค่ำ ๑ เดือน ๙ จนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒

 

วันออกพรรษา ตรงกับวันที่ 17 ตุลาคม 2567 

วันออกพรรษา เป็นวันที่พุทธบริษัททั้งชาววัดและชาวบ้าน ได้พร้อมใจกันกระทำบุญกุศลต่าง ๆ ปิ่นโตถวายพระ ตามคติประเพณีที่เคยประพฤติปฏิบัติสืบ ๆ กันมาแต่โบราณกาล เช่นมีการตักบาตรเทโว หรือเรียกตักบาตรดาวดึงส์ เป็นต้น “วันออกพรรษา” มีสาเหตุเนื่องมาจาก “วันเข้าพรรษา” ที่มีมาแล้วเมื่อวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ อันเป็นวันที่พระภิกษุทั้งหลายอธิษฐานใจเข้าอยู่พรรษาครบไตรมาส คือ ๓ เดือน ตามพระพุทธบัญญัติ โดยไม่ไปค้างแรมค้างคืนนอกสถานที่ที่ท่านตั้งใจอยู่ไว้ เมื่อมีวันเข้าพรรษาก็จำเป็นต้องมีวันออกพรรษา ซึ่งวันออกพรรษา ซึ่งวันออกพรรษาตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ (เพ็ญเดือน ๑๑) ของทุกปี วันออกพรรษา เป็นวันสุดท้ายแห่งการจำพรรษาของพระภิกษุสงฆ์ หมายถึงพระภิกษุสงฆ์ได้จำพรรษาครบกำหนดไตรมาส ตามพระพุทธบัญญัติแล้ว ท่านมีสิทธิ์ที่จะจาริกไปพักค้างคืนที่อื่นได้ ไม่ผิดพระพุทธบัญญัติและยังได้รับอานิสงส์ (ผลดี) คือ

 

          ๑.ไปไหนไม่ต้องบอกลา
          ๒.ไม่ต้องถือผ้าไตรครบชุด
          ๓. ลาภที่เกิดขึ้นแก่ท่านมีสิทธิ์รับได้
          ๔. มีโอกาสได้อนุโมทนากฐินและได้รับอานิสงส์คือได้รับการขยายเวลาของ

 

อานิสงส์นั้นออกไปอีก ๔ เดือน อนึ่ง มีชื่อเรียกวันออกพรรษาอีกอย่างหนึ่งว่า ” วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา” มีความหมายว่าพระภิกษุทั้งหลายทั้งพระผู้ใหญ่และพระผู้น้อยต่างเปิดโอกาสอนุญาตแก่กันและกัน ให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้มีคำกล่าวปวารณาเป็นภาษาลี ว่า “สังฆัมภันเต ปะวาเรมิ ทิฎเฐนะ วา สุเตนะ วาปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง อายัส์มันโต อะนุกัทปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปฎิกะริสสามิ” แปลว่า ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นหรือได้ฟังก็ตาม ขอท่านทั้งหลายโปรดอนุเคราะห์ ว่ากล่าวตักเตือนกระผมด้วย เมื่อกระผมมองเห็นแล้ว จักประพฤติตัวเสียเลยใหม่ให้ดี

 

ปิ่นโตถวายพระ  อาม่าบ๊อกมีเซตถวายพระมาให้เลือกกัน อยากได้เซ็ตไหนเลือกได้เลย เราจัดเป็นเซ็ตให้สวยงาม สะอาดตา อาหารสดใหม่ทุกวัน ไปดูกันเลยว่ามีเซ็ตไหนกันบ้าง

 

เซตถวายพระ (คละได้ 4 เซต) 

 

(ทำบุญ1) ข้าวหอมมะลิ+คะน้าหมูกรอบ+ปลากะพงทอดน้ำปลา+ครองแครง+น้ำเก๊กฮวย

บรรจุด้วยถุงทองพร้อมติดโบว์

 

(ทำบุญ2) ข้าวหอมมะลิ+ปลากะพงทอดกระเทียม+หมูทอดน้ำปลา+ครองแครง+น้ำเก๊กฮวย

บรรจุด้วยถุงทองพร้อมติดโบว์

 

(ทำบุญ3) ข้าวหอมมะลิ+ผัดผักรวมมิตร (เจ) +ไข่เจียวไช่โป้ว+ครองแครง+น้ำเก๊กฮวย

บรรจุด้วยถุงทองพร้อมติดโบว์

 

(ทำบุญ4) ข้าวหอมมะลิ+ลาบหมู+ต้มแซ่บ+ครองแครง+น้ำชามะนาว

บรรจุด้วยถุงทองพร้อมติดโบว์

 

(ทำบุญ5) ข้าวหอมมะลิ+คั่วกลิ้งไก่ปักษ์ใต้+เห็ดออรินจิคั่วเกลือ+ครองแครง+น้ำชามะนาว

บรรจุด้วยถุงทองพร้อมติดโบว์

 

(ทำบุญ6) ข้าวหอมมะลิ+กะพงทอดน้ำปลา + เห็ดออรินจิคั่วเกลือ+ครองแครง+น้ำชามะนาว

บรรจุด้วยถุงทองพร้อมติดโบว์

 

(ทำบุญ7) ข้าวหอมมะลิ+กะพงผัดขึ้นฉ่าย + กะเพราทะเล+ครองแครง+น้ำชามะนาว

บรรจุด้วยถุงทองพร้อมติดโบว์

 

(ทำบุญ8) ข้าวหอมมะลิ+กะพงสามรส(น้ำจิ้ม)+กะหล่ำปลีทอดน้ำปลา+ครองแครง+น้ำชามะนาว บรรจุด้วยถุงทองพร้อมติดโบว์

 

(ทำบุญ9) ข้าวหอมมะลิ+หมูทอดเปรี้ยวหวาน+กะเพราหมูยอ+ครองแครง+น้ำชามะนาว

บรรจุด้วยถุงทองพร้อมติดโบว์

 

(ทำบุญ10) ข้าวหอมมะลิ + หอยลายผัดพริกเผา + หมูทอดน้ำปลา+ครองแครง+น้ำชามะนาว

บรรจุด้วยถุงทองพร้อมติดโบว์

 

เลือกเซตทำบุญผ่านทางหน้าเว็บ ง่ายๆกับการทำบุญวิถีใหม่ (New Normal) ที่สะดวก  ดูดี อร่อย ถูกหลักอนามัย อาหารเลี้ยงพระเดลิเวอรี่ เซตเลี้ยงพระ ชุดอาหารคาวหวานราคาประหยัด แค่อธิษฐาน ถวายได้ทันที อาหารบรรจุในถ้วยมีฝาปิดมิดชิด สะอาดปลอดภัย ไม่ต้องจัดเตรียมอุปกรณ์ จานชาม สะดวก สบาย ประหยัดเวลาเจ้าภาพ สามารถถวายภัตตาหารพระสงฆ์ ทั้งห่อได้ ไม่ต้องแกะห่อ สามารถประเคนถวายทั้งชุด